Local cover image
Local cover image

แนวทางการพัฒนาทางเท้าที่เหมาะสมกับชุมชนเมือง : กรณีศึกษาในพื้นที่เขตดุสิต = SUGGESTION FOR DEVELOPMENT OF SIDEWALKS SUITABLE FOR URBAN COMMUNITIES : A CASE STUDY IN DUSIT DISTRICT

By: Material type: TextTextSeries: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมืองPublication details: กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2564.Description: 71 หน้า : ภาพประกอบ, ตารางSubject(s): LOC classification:
  • วพ TE280 ก233น 2564
Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564 Summary: ทางเท้าของคนเมืองนับว่ามีความสำคัญ ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเดินทางได้อย่างรวดเร็ว และจะช่วยลดการใช้รถยนต์ได้เป็นจำนวนมาก หากทางเท้ามีความเหมาะสมและเอื้อต่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของประชาชน จึงได้มีการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสภาพทางกายภาพของทางเท้าด้านความสะดวกความสะอาด ความปลอดภัย และด้านสิ่งแวดล้อมภูมิทัศน์ของทางเท้า การศึกษาการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ขั้นตอนในการสำรวจข้อมูลด้วยวิธีการงเกตการณ์และการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามแบบเลือกตอบ จำนวน 400 ชุด เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานศึกษาปัจจัยความต้องการและความคิดเห็นของผู้ใช้ทางเท้า ผลจากการสำรวจในพื้นที่กรณีศึกษาพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการปรับปรุง ได้แก่ (1) ความปลอดภัยในการเดินบนทางเท้า โดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านปัญหาพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า โดยคิดเป็น 85.05 เปอร์เซ็นต์ (2) ปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อมความสะอาดน่ามอง โดยให้ความสำคัญในด้านการรักษาความสะอาดน่ามองของทางเดินเท้า โดยคิดเป็น 83.4 เปอร์เซ็นต์ (3) ปรับปรุงด้านความสะดวกสบายในการเดิน โดยให้ความสำคัญด้านสภาพพื้นผิวของทางเท้าบริเวณที่ใช้ในการเดินทางเป็นหลุมเป็นบ่อ โดยคิดเป็น 82.8 เปอร์เซ็นต์ ผลจากการวิเคราะห์การปรับปรุงทางเท้าทั้งระบบ โดยให้มีมาตรฐานที่มีความกว้างของทางเดินเท้าที่เพียงพอ ไม่มีสิ่งกีดขวางให้มีความสะดวกในการเดินและพื้นผิวทางเท้าที่ต้องมีสภาพเหมาะสมกับการใช้งาน และสามารถใช้งานได้ดีกับประชาชนทุกวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้พิการต้องอาศัยหลักการออกแบบ (Universal Design) คือ เพิ่มขนาดความกว้างของทางเดินเท้า เพื่อให้เกิดระยะห่างที่มีสัดส่วนของทางเท้าให้มากขึ้นระหว่างเวลาเดินสวนทางกัน โดยเฉพาะบริเวณที่มีประชาชนใช้พื้นที่ทางเท้าในการสัญจรหนาแน่น โดยเฉพาะในการดูแลบริเวณพื้นผิวทางเท้าไม่ให้มีเศษขยะมูลฝอยมูลสัตว์ จัดให้มีการวางถังขยะอยู่ในบริเณที่เหมาะสมและสะดวกในการเก็บทิ้ง และต้องการปรับปรุงสภาพทางกายภาพของทางเท้าที่มีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นมีสิ่งปกคลุมเพื่อป้องกันแสงแดด หรือฝนตกได้บางส่วน และให้มีการปลูกต้นไม้โดยเฉพาะไม้ประดับที่มีขนาดไม่โตเกินไปและมีดอกไม้ที่มีสีสันสวยงามเพื่อเพิ่มทัศนียภาพที่ดีในบริเวณทางเท้า
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Shelving location Call number Status Date due Barcode Item holds
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit Available eb37364
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit วพ TE280 ก233น 2564 (Browse shelf(Opens below)) Available 0000047608
Total holds: 0

วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564

ทางเท้าของคนเมืองนับว่ามีความสำคัญ ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเดินทางได้อย่างรวดเร็ว และจะช่วยลดการใช้รถยนต์ได้เป็นจำนวนมาก หากทางเท้ามีความเหมาะสมและเอื้อต่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของประชาชน จึงได้มีการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสภาพทางกายภาพของทางเท้าด้านความสะดวกความสะอาด ความปลอดภัย และด้านสิ่งแวดล้อมภูมิทัศน์ของทางเท้า การศึกษาการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ขั้นตอนในการสำรวจข้อมูลด้วยวิธีการงเกตการณ์และการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามแบบเลือกตอบ จำนวน 400 ชุด เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานศึกษาปัจจัยความต้องการและความคิดเห็นของผู้ใช้ทางเท้า ผลจากการสำรวจในพื้นที่กรณีศึกษาพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการปรับปรุง ได้แก่ (1) ความปลอดภัยในการเดินบนทางเท้า โดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านปัญหาพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า โดยคิดเป็น 85.05 เปอร์เซ็นต์ (2) ปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อมความสะอาดน่ามอง โดยให้ความสำคัญในด้านการรักษาความสะอาดน่ามองของทางเดินเท้า โดยคิดเป็น 83.4 เปอร์เซ็นต์ (3) ปรับปรุงด้านความสะดวกสบายในการเดิน โดยให้ความสำคัญด้านสภาพพื้นผิวของทางเท้าบริเวณที่ใช้ในการเดินทางเป็นหลุมเป็นบ่อ โดยคิดเป็น 82.8 เปอร์เซ็นต์ ผลจากการวิเคราะห์การปรับปรุงทางเท้าทั้งระบบ โดยให้มีมาตรฐานที่มีความกว้างของทางเดินเท้าที่เพียงพอ ไม่มีสิ่งกีดขวางให้มีความสะดวกในการเดินและพื้นผิวทางเท้าที่ต้องมีสภาพเหมาะสมกับการใช้งาน และสามารถใช้งานได้ดีกับประชาชนทุกวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้พิการต้องอาศัยหลักการออกแบบ (Universal Design) คือ เพิ่มขนาดความกว้างของทางเดินเท้า เพื่อให้เกิดระยะห่างที่มีสัดส่วนของทางเท้าให้มากขึ้นระหว่างเวลาเดินสวนทางกัน โดยเฉพาะบริเวณที่มีประชาชนใช้พื้นที่ทางเท้าในการสัญจรหนาแน่น โดยเฉพาะในการดูแลบริเวณพื้นผิวทางเท้าไม่ให้มีเศษขยะมูลฝอยมูลสัตว์ จัดให้มีการวางถังขยะอยู่ในบริเณที่เหมาะสมและสะดวกในการเก็บทิ้ง และต้องการปรับปรุงสภาพทางกายภาพของทางเท้าที่มีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นมีสิ่งปกคลุมเพื่อป้องกันแสงแดด หรือฝนตกได้บางส่วน และให้มีการปลูกต้นไม้โดยเฉพาะไม้ประดับที่มีขนาดไม่โตเกินไปและมีดอกไม้ที่มีสีสันสวยงามเพื่อเพิ่มทัศนียภาพที่ดีในบริเวณทางเท้า

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image