แนวทางการพัฒนาทางเท้าที่เหมาะสมกับชุมชนเมือง : กรณีศึกษาในพื้นที่เขตดุสิต = SUGGESTION FOR DEVELOPMENT OF SIDEWALKS SUITABLE FOR URBAN COMMUNITIES : A CASE STUDY IN DUSIT DISTRICT

กฤตกานต์ วงศ์สง่า

แนวทางการพัฒนาทางเท้าที่เหมาะสมกับชุมชนเมือง : กรณีศึกษาในพื้นที่เขตดุสิต = SUGGESTION FOR DEVELOPMENT OF SIDEWALKS SUITABLE FOR URBAN COMMUNITIES : A CASE STUDY IN DUSIT DISTRICT - กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2564. - 71 หน้า : ภาพประกอบ, ตาราง. - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง . - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง .

วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา

ทางเท้าของคนเมืองนับว่ามีความสำคัญ ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเดินทางได้อย่างรวดเร็ว และจะช่วยลดการใช้รถยนต์ได้เป็นจำนวนมาก หากทางเท้ามีความเหมาะสมและเอื้อต่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของประชาชน จึงได้มีการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสภาพทางกายภาพของทางเท้าด้านความสะดวกความสะอาด ความปลอดภัย และด้านสิ่งแวดล้อมภูมิทัศน์ของทางเท้า การศึกษาการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ขั้นตอนในการสำรวจข้อมูลด้วยวิธีการงเกตการณ์และการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามแบบเลือกตอบ จำนวน 400 ชุด เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานศึกษาปัจจัยความต้องการและความคิดเห็นของผู้ใช้ทางเท้า ผลจากการสำรวจในพื้นที่กรณีศึกษาพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการปรับปรุง ได้แก่ (1) ความปลอดภัยในการเดินบนทางเท้า โดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านปัญหาพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า โดยคิดเป็น 85.05 เปอร์เซ็นต์ (2) ปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อมความสะอาดน่ามอง โดยให้ความสำคัญในด้านการรักษาความสะอาดน่ามองของทางเดินเท้า โดยคิดเป็น 83.4 เปอร์เซ็นต์ (3) ปรับปรุงด้านความสะดวกสบายในการเดิน โดยให้ความสำคัญด้านสภาพพื้นผิวของทางเท้าบริเวณที่ใช้ในการเดินทางเป็นหลุมเป็นบ่อ โดยคิดเป็น 82.8 เปอร์เซ็นต์ ผลจากการวิเคราะห์การปรับปรุงทางเท้าทั้งระบบ โดยให้มีมาตรฐานที่มีความกว้างของทางเดินเท้าที่เพียงพอ ไม่มีสิ่งกีดขวางให้มีความสะดวกในการเดินและพื้นผิวทางเท้าที่ต้องมีสภาพเหมาะสมกับการใช้งาน และสามารถใช้งานได้ดีกับประชาชนทุกวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้พิการต้องอาศัยหลักการออกแบบ (Universal Design) คือ เพิ่มขนาดความกว้างของทางเดินเท้า เพื่อให้เกิดระยะห่างที่มีสัดส่วนของทางเท้าให้มากขึ้นระหว่างเวลาเดินสวนทางกัน โดยเฉพาะบริเวณที่มีประชาชนใช้พื้นที่ทางเท้าในการสัญจรหนาแน่น โดยเฉพาะในการดูแลบริเวณพื้นผิวทางเท้าไม่ให้มีเศษขยะมูลฝอยมูลสัตว์ จัดให้มีการวางถังขยะอยู่ในบริเณที่เหมาะสมและสะดวกในการเก็บทิ้ง และต้องการปรับปรุงสภาพทางกายภาพของทางเท้าที่มีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นมีสิ่งปกคลุมเพื่อป้องกันแสงแดด หรือฝนตกได้บางส่วน และให้มีการปลูกต้นไม้โดยเฉพาะไม้ประดับที่มีขนาดไม่โตเกินไปและมีดอกไม้ที่มีสีสันสวยงามเพื่อเพิ่มทัศนียภาพที่ดีในบริเวณทางเท้า


ทางเท้า
ความสะดวก
ความปลอดภัย
สิ่งแวดล้อมของทางเท้า

วพ TE280 / ก233น 2564