Local cover image
Local cover image

การประเมินประสิทธิภาพของหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการสัมผัสละอองฝอย = EVALUATION OF CLOTH FACE MASKS FOR PROTECTION AGAINST EXPOSURE TO DROPLETS

By: Material type: TextTextSeries: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมืองPublication details: กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2564.Description: 69 หน้า : ภาพประกอบ, ตารางSubject(s): NLM classification:
  • วพ W26
Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564 Summary: ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ทำให้ความต้องการใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เพิ่มสูงขึ้นเป็นทวีคูณจึงเกิดวิกฤตขาดแคลนหน้ากากอนามัย ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงแนะนำให้ประชาชนทั่วไปใช้หน้ากากผ้าป้องกันการติดเชื้อทางละอองฝอย วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อหาประสิทธิภาพในการกรองละอองฝอยของหน้ากากผ้าที่ขายในท้องตลาด จำนวน 12 ตัวอย่างโดยใช้ประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เป็นค่าเปรียบเทียบ โดยจำลองการสวมหน้ากากผ้ากับใบหน้าของหุ่นฝึกทางการแพทย์ ใช้เครื่องดูดเสมหะดูดอากาศด้วยอัตรา 15 ลิตรต่อนาทีผ่านหน้ากากที่ทดสอบ สร้างละอองฝอยจากน้ำดื่มบรรจุขวดภายในกล่องอะคริลิคที่ครอบศีรษะของหุ่นฝึกขนาด 0.9x0.9x0.9 ลบ.ม. และวัดจำนวนละอองฝอยขนาด 5 ไมครอนด้วยเครื่องวัดอนุภาค หน้ากากผ้าแต่ละตัวอย่างทำการทดสอบช้ำ 3 ครั้ง ทดสอบประสิทธิภาพของวัสดุผ้าในการกรองโดยปิดขอบหน้ากากกับใบหน้าหุ่นSummary: พบว่า หน้ากากผ้ามัสลินมีประสิทธิภาพการกรองสูงสุด 62 เปอร์เซ็นแต่ยังต่ำกว่าหน้ากากหน้าอนามัยทางการแพทย์มีประสิทธิภาพ 82 เปอร์เซ็นต์ ราคาขายและการซักไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการกรองละอองฝอยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การสวมหน้ากากผ้าทับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่สวมกับหุ่นโดยไม่ปิดขอบสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกรองจาก 49 เปอร์เซ็นต์เป็น 62-65 เปอร์เซ็นต์เนื่องจากลดการรั่วของอากาศตามขอบหน้ากากที่สัมผัสกับใบหน้า ผลการสำรวจปัจจัยในการเลือกซื้อหน้ากากผ้าจากผู้ตอบแบบสำรวจ 150 คนพบว่า หน้ากากราคาต่ำกว่า 100 บาทเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ส่วนสินค้ามียี่ห้อมีผลต่อการเลือกน้อยที่สุด
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Shelving location Call number Status Date due Barcode Item holds
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit Available eb37354
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit วพ W26 อ976ก 2564 (Browse shelf(Opens below)) Available 0000047605
Total holds: 0

วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ทำให้ความต้องการใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เพิ่มสูงขึ้นเป็นทวีคูณจึงเกิดวิกฤตขาดแคลนหน้ากากอนามัย ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงแนะนำให้ประชาชนทั่วไปใช้หน้ากากผ้าป้องกันการติดเชื้อทางละอองฝอย วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อหาประสิทธิภาพในการกรองละอองฝอยของหน้ากากผ้าที่ขายในท้องตลาด จำนวน 12 ตัวอย่างโดยใช้ประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เป็นค่าเปรียบเทียบ โดยจำลองการสวมหน้ากากผ้ากับใบหน้าของหุ่นฝึกทางการแพทย์ ใช้เครื่องดูดเสมหะดูดอากาศด้วยอัตรา 15 ลิตรต่อนาทีผ่านหน้ากากที่ทดสอบ สร้างละอองฝอยจากน้ำดื่มบรรจุขวดภายในกล่องอะคริลิคที่ครอบศีรษะของหุ่นฝึกขนาด 0.9x0.9x0.9 ลบ.ม. และวัดจำนวนละอองฝอยขนาด 5 ไมครอนด้วยเครื่องวัดอนุภาค หน้ากากผ้าแต่ละตัวอย่างทำการทดสอบช้ำ 3 ครั้ง ทดสอบประสิทธิภาพของวัสดุผ้าในการกรองโดยปิดขอบหน้ากากกับใบหน้าหุ่น

พบว่า หน้ากากผ้ามัสลินมีประสิทธิภาพการกรองสูงสุด 62 เปอร์เซ็นแต่ยังต่ำกว่าหน้ากากหน้าอนามัยทางการแพทย์มีประสิทธิภาพ 82 เปอร์เซ็นต์ ราคาขายและการซักไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการกรองละอองฝอยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การสวมหน้ากากผ้าทับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่สวมกับหุ่นโดยไม่ปิดขอบสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกรองจาก 49 เปอร์เซ็นต์เป็น 62-65 เปอร์เซ็นต์เนื่องจากลดการรั่วของอากาศตามขอบหน้ากากที่สัมผัสกับใบหน้า ผลการสำรวจปัจจัยในการเลือกซื้อหน้ากากผ้าจากผู้ตอบแบบสำรวจ 150 คนพบว่า หน้ากากราคาต่ำกว่า 100 บาทเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ส่วนสินค้ามียี่ห้อมีผลต่อการเลือกน้อยที่สุด

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image