Local cover image
Local cover image

การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสําหรับการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : แหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครชั้นใน = LOGISTICS AND SUPPLY CHAIN MANAGEMENT FOR TOURISM : A CASE STUDY OF TOURISM AREA AT THE INNER BANGKOK

By: Material type: TextTextSeries: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมืองPublication details: กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2564.Description: 87 หน้า : ภาพประกอบ, ตารางSubject(s): LOC classification:
  • วพ G155.ท9 ร126ก 2564
Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564 Summary: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์และวางแผนความต้องการของนักท่องเที่ยว (Demand Planning) โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ (Forecasting Techniques) ในพื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครชั้นใน 2) เพื่อดําเนินการทดลองและวิเคราะห์หาวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมในการพยากรณ์จํานวนนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักท่องเที่ยวไทย นักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดียที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่เป้าหมาย และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการวางแผนด้านการให้บริการ (Supply Plan) ด้านที่พักอาศัยสําหรับนักท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิผล มีการเลือกพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในซึ่งเป็นกลุ่มกรุงเทพกลาง 9 เขต ได้แก่ เขตพระนคร เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตดินแดง เขตห้วยขวาง เขตพญาไท เขตราชเทวี และเขตวังทองหลาง มาเป็นพื้นที่กรณีศึกษา โดยใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนโดยเฉลี่ย (MAPE) และค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์โดยเฉลี่ย (MAD) เป็นค่าวัดความแม่นยําของการพยากรณ์จํานวนนักท่องเที่ยว มีการนําวิธีการวิเคราะห์อนุกรมเวลา ได้แก่ Moving Average Single Exponential Smoothing Double Exponential Smoothing และ Winters’ method มาใช้ในการทดลองเพื่อพยากรณ์จํานวนนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครชั้นใน 9 เขตSummary: จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนพบว่า วิธีการพยากรณ์มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติต่อค่า MAPE และค่า MAD จากผลการทดลอง วิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดได้แก่ วิธี Winters’ Method โดยมีรอบวัฏจักร 12 เดือน สําหรับการวิเคราะห์ Supply Plan ความต้องการที่พักสําหรับนักท่องเที่ยวในสถานการณ์ที่ความต้องการมาก (Optimistic Demand) มีความต้องการที่พักมากกว่ากําลังการให้บริการด้านที่พัก 56.52 % และความต้องการที่พักสําหรับนักท่องเที่ยวในสถานการณ์ที่ความต้องการน้อย (Pessimistic Demand) มีความต้องการที่พักมากกว่ากําลังการให้บริการด้านที่พัก 1.04 % ดังนั้น ผู้ประกอบการโรงแรมและเกสท์เฮ้าส์ควรได้รับการส่งเสริมด้านมาตรการจูงใจด้านภาษีสําหรับนักท่องเที่ยว โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย กําหนดมาตรการลดอัตราภาษีและสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสําหรับผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มกําลังการให้บริการด้านที่พักสําหรับนักท่องเที่ยว
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Shelving location Call number Status Date due Barcode Item holds
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit Available eb37362
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit วพ G155.ท9 ร126ก 2564 (Browse shelf(Opens below)) Available 0000047601
Total holds: 0

วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์และวางแผนความต้องการของนักท่องเที่ยว (Demand Planning) โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ (Forecasting Techniques) ในพื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครชั้นใน 2) เพื่อดําเนินการทดลองและวิเคราะห์หาวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมในการพยากรณ์จํานวนนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักท่องเที่ยวไทย นักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดียที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่เป้าหมาย และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการวางแผนด้านการให้บริการ (Supply Plan) ด้านที่พักอาศัยสําหรับนักท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิผล มีการเลือกพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในซึ่งเป็นกลุ่มกรุงเทพกลาง 9 เขต ได้แก่ เขตพระนคร เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตดินแดง เขตห้วยขวาง เขตพญาไท เขตราชเทวี และเขตวังทองหลาง มาเป็นพื้นที่กรณีศึกษา โดยใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนโดยเฉลี่ย (MAPE) และค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์โดยเฉลี่ย (MAD) เป็นค่าวัดความแม่นยําของการพยากรณ์จํานวนนักท่องเที่ยว มีการนําวิธีการวิเคราะห์อนุกรมเวลา ได้แก่ Moving Average Single Exponential Smoothing Double Exponential Smoothing และ Winters’ method มาใช้ในการทดลองเพื่อพยากรณ์จํานวนนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครชั้นใน 9 เขต

จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนพบว่า วิธีการพยากรณ์มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติต่อค่า MAPE และค่า MAD จากผลการทดลอง วิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดได้แก่ วิธี Winters’ Method โดยมีรอบวัฏจักร 12 เดือน สําหรับการวิเคราะห์ Supply Plan ความต้องการที่พักสําหรับนักท่องเที่ยวในสถานการณ์ที่ความต้องการมาก (Optimistic Demand) มีความต้องการที่พักมากกว่ากําลังการให้บริการด้านที่พัก 56.52 % และความต้องการที่พักสําหรับนักท่องเที่ยวในสถานการณ์ที่ความต้องการน้อย (Pessimistic Demand) มีความต้องการที่พักมากกว่ากําลังการให้บริการด้านที่พัก 1.04 % ดังนั้น ผู้ประกอบการโรงแรมและเกสท์เฮ้าส์ควรได้รับการส่งเสริมด้านมาตรการจูงใจด้านภาษีสําหรับนักท่องเที่ยว โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย กําหนดมาตรการลดอัตราภาษีและสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสําหรับผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มกําลังการให้บริการด้านที่พักสําหรับนักท่องเที่ยว

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image