Local cover image
Local cover image

ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลามารับการรักษาของผู้สูงอายุที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ = SELECTED FACTORS RELATED TO PREHOSPITAL TIME IN ELDERLY WITH SEPSIS

By: Material type: TextTextSeries: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุPublication details: กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2564.Description: 137 หน้า : ภาพประกอบ, ตารางSubject(s): NLM classification:
  • วพ WT100
Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564 Summary: ภาวะพิษเหตุติดเชื้อเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้สูงอายุทั่วโลก โดยมีระยะเวลามารับการรักษาเป็นปัจจัยพยากรณ์ผลลัพธ์ทางคลินิก ดังนั้นการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลามารับการรักษาจึงมีความสําคัญในการป้องกันการเสียชีวิตและเกิดภาวทุพพลภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อได้ Summary: การศึกษาวิจัยเชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์นี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลามารับการรักษาของผู้สูงอายุที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 87 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม แบบสอบถามการรับรู้ความเจ็บป่วย และแบบวัดความรู้เกี่ยวกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนSummary: ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (ร้อยละ 58.6)มีความรู้เกี่ยวกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อระดับต่ํา (M = 5.09, SD = 2.13) มีการสนับสนุนทางสังคมระดับปานกลาง (M = 3.6, SD = 0.86) ส่วนใหญ่เดินทางมาโรงพยาบาลด้วยรถส่วนตัวหรือรถโดยสารสาธารณะ (ร้อยละ 77) และมีค่ามัธยฐานของระยะเวลามารับการรักษาเท่ากับ 62.6 ชั่วโมง (IQR =62.15) ปัจจัยความรู้เกี่ยวกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (rs = -.446) การรับรู้ด้านลักษณะของความเจ็บป่วย(rs = -.371) การตอบสนองต่อความเจ็บป่วยด้านอารมณ์ (rs = -.342) การสนับสนุนทางสังคม (rs =-.276) และประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (rpb = -.239) มีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับระยะเวลามารับการรักษาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 Summary: ดังนั้น พยาบาลและทีมสุขภาพควรให้ความสําคัญกับการให้ความรู้และส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่ถูกต้อง โดยเฉพาะด้านลักษณะอาการแก่ผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวพร้อมทั้งส่งเสริมการจัดการทางอารมณ์ขณะเผชิญกับอาการอย่างเหมาะสม เพื่อลดระยะเวลามารับการรักษาและช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อเข้าสู่กระบวนรักษารวดเร็วยิ่งขึ้น
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Shelving location Call number Status Date due Barcode Item holds
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Shelving Cart วพ WT100 ฐ82ป 2564 (Browse shelf(Opens below)) Available 0000047609
Electronic Book Electronic Book Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit วพ WT100 ฐ82ป 2564 (Browse shelf(Opens below)) Online Access eb37305
Total holds: 0

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้สูงอายุทั่วโลก โดยมีระยะเวลามารับการรักษาเป็นปัจจัยพยากรณ์ผลลัพธ์ทางคลินิก ดังนั้นการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลามารับการรักษาจึงมีความสําคัญในการป้องกันการเสียชีวิตและเกิดภาวทุพพลภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อได้

การศึกษาวิจัยเชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์นี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลามารับการรักษาของผู้สูงอายุที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 87 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม แบบสอบถามการรับรู้ความเจ็บป่วย และแบบวัดความรู้เกี่ยวกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (ร้อยละ 58.6)มีความรู้เกี่ยวกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อระดับต่ํา (M = 5.09, SD = 2.13) มีการสนับสนุนทางสังคมระดับปานกลาง (M = 3.6, SD = 0.86) ส่วนใหญ่เดินทางมาโรงพยาบาลด้วยรถส่วนตัวหรือรถโดยสารสาธารณะ (ร้อยละ 77) และมีค่ามัธยฐานของระยะเวลามารับการรักษาเท่ากับ 62.6 ชั่วโมง (IQR =62.15) ปัจจัยความรู้เกี่ยวกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (rs = -.446) การรับรู้ด้านลักษณะของความเจ็บป่วย(rs = -.371) การตอบสนองต่อความเจ็บป่วยด้านอารมณ์ (rs = -.342) การสนับสนุนทางสังคม (rs =-.276) และประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (rpb = -.239) มีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับระยะเวลามารับการรักษาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ดังนั้น พยาบาลและทีมสุขภาพควรให้ความสําคัญกับการให้ความรู้และส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่ถูกต้อง โดยเฉพาะด้านลักษณะอาการแก่ผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวพร้อมทั้งส่งเสริมการจัดการทางอารมณ์ขณะเผชิญกับอาการอย่างเหมาะสม เพื่อลดระยะเวลามารับการรักษาและช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อเข้าสู่กระบวนรักษารวดเร็วยิ่งขึ้น

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image