Local cover image
Local cover image

ปัจจัยทํานายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน

By: Material type: TextTextSeries: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุPublication details: กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 2565Subject(s): NLM classification:
  • วพ WG 510
Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2565 Summary: โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังและมีการลุกลามของโรคค่อนข้างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ดังนั้นการศึกษาปัจจัยที่ผลต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจึงมีความสำคัญในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันให้ดีขึ้น การวิจัยนี้เป็นวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทํานาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทํานายของความปวด ภาวะซึมเศร้า ความรุนแรงของโรค และการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดง ส่วนปลายอุดตันที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 92 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการปวด แบบประเมินโรคซึมเศร้า (9Q) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมและแบบประเมินคุณภาพชีวิต (SF-36) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยอยู่ในระดับดี (M= 52.93, SD = 13.94) โดยภาวะซึมเศร้า ความปวดและความรุนแรงของโรค สามารถร่วมกันทํานายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพได้ร้อยละ 42.5 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยที่สามารถทํานายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพได้สูงสุดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติคือ ความปวด รองลงมาคือภาวะซึมเศร้าและความรุนแรงของโรค (β = - .393, .313, .188, p < .05) ดังนั้นพยาบาลและทีมสุขภาพควรให้ความสำคัญต่อการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อคัดกรองผู้ป่วย และควรมีการจัดการความปวดให้กับผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วและมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ดีขึ้น
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Shelving location Call number Status Date due Barcode Item holds
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library Shelving Cart วพ WG 510 ช68 2565 (Browse shelf(Opens below)) Available 0000049537
Total holds: 0
Browsing Kuakarun Nursing Library shelves Close shelf browser (Hides shelf browser)
No cover image available
No cover image available
No cover image available
No cover image available
No cover image available
No cover image available
วพ WG 330 พ284ผ 2544 ผลการส่งเสริมสมรรถนะ แห่งตนต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ = Effect of self-efficacy Enhancement on Activities of Daily Living Among Patients undergoing Coronary Artery Bypass Graft Surgery วพ WG 330 ส838ก 2552 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารีเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด = Development of a clinical nursing practice guideline for reducing vascular complications in patients undergoing percutaneous coronary interventions วพ WG 370 ส945ป 2552 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว = Factors related to health promoting behaviors among patients with congestive heart failure วพ WG 510 ช68 2565 ปัจจัยทํานายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน วพ WG330 น198ป 2555 ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์ต่อการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด วพ WI 605 ม162ผ 2549 ผลของการแช่ก้นด้วยน้ำอุ่นต่อการรับรู้ความเจ็บปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดริดสีดวงทวารหนัก = Effects of warm sitzbath on pain perception in patients with post hemorrhoidectomy วพ WI650 ส623ผ 2564 ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมผ่านทางแอปพลิเคชันต่อระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยส่องกล้องลําไส้ใหญ่ทางทวารหนักแบบผู้ป่วยนอก = THE EFFECTS OF EDUCATIONAL PREPAREDNESS PROGRAM MOBILE APPLICATION TOWARDS THE ANXIETY LEVEL OF PATIENTS UNDERGOING OUTPATIENT COLONOSCOPY

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2565

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังและมีการลุกลามของโรคค่อนข้างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ดังนั้นการศึกษาปัจจัยที่ผลต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจึงมีความสำคัญในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันให้ดีขึ้น
การวิจัยนี้เป็นวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทํานาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทํานายของความปวด ภาวะซึมเศร้า ความรุนแรงของโรค และการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดง ส่วนปลายอุดตันที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 92 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการปวด แบบประเมินโรคซึมเศร้า (9Q) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมและแบบประเมินคุณภาพชีวิต (SF-36) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยอยู่ในระดับดี (M= 52.93, SD = 13.94) โดยภาวะซึมเศร้า ความปวดและความรุนแรงของโรค สามารถร่วมกันทํานายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพได้ร้อยละ 42.5 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยที่สามารถทํานายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพได้สูงสุดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติคือ ความปวด รองลงมาคือภาวะซึมเศร้าและความรุนแรงของโรค (β = - .393, .313, .188, p < .05)
ดังนั้นพยาบาลและทีมสุขภาพควรให้ความสำคัญต่อการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อคัดกรองผู้ป่วย และควรมีการจัดการความปวดให้กับผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วและมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ดีขึ้น

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image