ปัจจัยทํานายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน

ชนานุช สารวิทย์

ปัจจัยทํานายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน - กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 2565 - พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ .

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังและมีการลุกลามของโรคค่อนข้างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ดังนั้นการศึกษาปัจจัยที่ผลต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจึงมีความสำคัญในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันให้ดีขึ้น
การวิจัยนี้เป็นวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทํานาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทํานายของความปวด ภาวะซึมเศร้า ความรุนแรงของโรค และการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดง ส่วนปลายอุดตันที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 92 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการปวด แบบประเมินโรคซึมเศร้า (9Q) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมและแบบประเมินคุณภาพชีวิต (SF-36) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยอยู่ในระดับดี (M= 52.93, SD = 13.94) โดยภาวะซึมเศร้า ความปวดและความรุนแรงของโรค สามารถร่วมกันทํานายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพได้ร้อยละ 42.5 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยที่สามารถทํานายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพได้สูงสุดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติคือ ความปวด รองลงมาคือภาวะซึมเศร้าและความรุนแรงของโรค (β = - .393, .313, .188, p < .05)
ดังนั้นพยาบาลและทีมสุขภาพควรให้ความสำคัญต่อการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อคัดกรองผู้ป่วย และควรมีการจัดการความปวดให้กับผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วและมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ดีขึ้น


หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน

วพ WG 510 / ช68 2565