Local cover image
Local cover image

ภาวะผู้นําและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนเมืองสู่การสร้างความเข้มแข็งชุมชนเมือง กรณีศึกษา : ชุมชนสวนอ้อย กรุงเทพมหานคร = LEADERSHIP AND PARTICIPATION OF CITIZENS IN URBAN MANAGEMENT TO THE STRENGTH A CASE STUDY OF SUAN AOY COMMUNITY, BANGKOK

By: Material type: TextTextSeries: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมืองPublication details: กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2564.Description: 66 หน้า : ภาพประกอบ, ตารางSubject(s): LOC classification:
  • วพ HD 57.7 ป847ภ 2564
Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564 Summary: งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นํา และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนเมืองสู่การสร้างความเข้มแข็งชุมชนเมือง ของชุมชนสวนอ้อย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้นําชุมชน และกลุ่มคณะกรรมการชุมชน ประกอบด้วย ประธานชุมชน และคณะกรรมการชุมชนสวนอ้อย จํานวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสํารวจพื้นที่ชุมชนและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้อุปกรณ์ช่วยได้แก่บทสัมภาษณ์ด้วยชุดคําถามปลายเปิด เครื่องบันทึกเสียง ปากกา และสมุดโน้ต เพื่อจดบันทึกระหว่างการสัมภาษณ์ประธานชุมชนและคณะกรรมการชุมชน ตลอดจนสมาชิกชุมชนSummary: ผลการวิจัย พบว่า การที่ชุมชนสวนอ้อย มีความเข้มแข็งนั้นเริ่มต้นจากการที่มีประธานชุมชนกลุ่มคณะกรรมการชุมชน และสมาชิกชุมชนที่มีความเข้มแข็งก่อน โดยลักษณะของผู้นําชุมชนที่ดีคือต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ โอบอ้อมอารี เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน อุทิศตนและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ซึ่งผู้นําชุมชนสวนอ้อยมีคุณสมบัติข้อนี้อย่างเต็มเปี่ยม สิ่งสําคัญอีกอย่าง คือ เครือข่ายภายในชุมชน เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทํากิจกรรมต่าง ๆ สําหรับชุมชนสวนอ้อย เครือข่ายความสัมพันธ์ภายในชุมชนที่เห็นเด่นชัด ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และญาติพี่น้องภายในชุมชนปัจจัยอีกอย่าง คือ เครือข่ายความสัมพันธ์ภายนอกชุมชน ได้แก่ เครือข่ายภาครัฐ เช่น สํานักงานเขตดุสิต มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นต้น นอกจากนี้กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสวนอ้อย มีการใช้กระบวนการที่มีลักษณะเน้นการพึ่งพาตนเองของชุมชน มีการอาศัยภาวะผู้นําเข้มแข็งมีการสร้างความร่วมมือและร่วมใจผลักดันการพัฒนาชุมชนของสมาชิก มีการบูรณาการด้วยวิธีการและ เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ในงานพัฒนาชุมชน มีการอาศัยและสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชน เพื่อเสริมความแข็งแรงและสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาชุมชนแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่นยืนในระยะยาว
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Shelving location Call number Status Date due Barcode Item holds
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit Available eb37358
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit วพ HD 57.7 ป847ภ 2564 (Browse shelf(Opens below)) Available 0000047603
Total holds: 0

วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นํา และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนเมืองสู่การสร้างความเข้มแข็งชุมชนเมือง ของชุมชนสวนอ้อย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้นําชุมชน และกลุ่มคณะกรรมการชุมชน ประกอบด้วย ประธานชุมชน และคณะกรรมการชุมชนสวนอ้อย จํานวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสํารวจพื้นที่ชุมชนและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้อุปกรณ์ช่วยได้แก่บทสัมภาษณ์ด้วยชุดคําถามปลายเปิด เครื่องบันทึกเสียง ปากกา และสมุดโน้ต เพื่อจดบันทึกระหว่างการสัมภาษณ์ประธานชุมชนและคณะกรรมการชุมชน ตลอดจนสมาชิกชุมชน

ผลการวิจัย พบว่า การที่ชุมชนสวนอ้อย มีความเข้มแข็งนั้นเริ่มต้นจากการที่มีประธานชุมชนกลุ่มคณะกรรมการชุมชน และสมาชิกชุมชนที่มีความเข้มแข็งก่อน โดยลักษณะของผู้นําชุมชนที่ดีคือต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ โอบอ้อมอารี เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน อุทิศตนและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ซึ่งผู้นําชุมชนสวนอ้อยมีคุณสมบัติข้อนี้อย่างเต็มเปี่ยม สิ่งสําคัญอีกอย่าง คือ เครือข่ายภายในชุมชน เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทํากิจกรรมต่าง ๆ สําหรับชุมชนสวนอ้อย เครือข่ายความสัมพันธ์ภายในชุมชนที่เห็นเด่นชัด ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และญาติพี่น้องภายในชุมชนปัจจัยอีกอย่าง คือ เครือข่ายความสัมพันธ์ภายนอกชุมชน ได้แก่ เครือข่ายภาครัฐ เช่น สํานักงานเขตดุสิต มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นต้น นอกจากนี้กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสวนอ้อย มีการใช้กระบวนการที่มีลักษณะเน้นการพึ่งพาตนเองของชุมชน มีการอาศัยภาวะผู้นําเข้มแข็งมีการสร้างความร่วมมือและร่วมใจผลักดันการพัฒนาชุมชนของสมาชิก มีการบูรณาการด้วยวิธีการและ เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ในงานพัฒนาชุมชน มีการอาศัยและสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชน เพื่อเสริมความแข็งแรงและสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาชุมชนแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่นยืนในระยะยาว

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image