ภาวะผู้นําและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนเมืองสู่การสร้างความเข้มแข็งชุมชนเมือง กรณีศึกษา : ชุมชนสวนอ้อย กรุงเทพมหานคร = LEADERSHIP AND PARTICIPATION OF CITIZENS IN URBAN MANAGEMENT TO THE STRENGTH A CASE STUDY OF SUAN AOY COMMUNITY, BANGKOK

ปุณรดา ล้วนวิเศษ

ภาวะผู้นําและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนเมืองสู่การสร้างความเข้มแข็งชุมชนเมือง กรณีศึกษา : ชุมชนสวนอ้อย กรุงเทพมหานคร = LEADERSHIP AND PARTICIPATION OF CITIZENS IN URBAN MANAGEMENT TO THE STRENGTH A CASE STUDY OF SUAN AOY COMMUNITY, BANGKOK - กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2564. - 66 หน้า : ภาพประกอบ, ตาราง. - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง . - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง .

วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นํา และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนเมืองสู่การสร้างความเข้มแข็งชุมชนเมือง ของชุมชนสวนอ้อย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้นําชุมชน และกลุ่มคณะกรรมการชุมชน ประกอบด้วย ประธานชุมชน และคณะกรรมการชุมชนสวนอ้อย จํานวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสํารวจพื้นที่ชุมชนและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้อุปกรณ์ช่วยได้แก่บทสัมภาษณ์ด้วยชุดคําถามปลายเปิด เครื่องบันทึกเสียง ปากกา และสมุดโน้ต เพื่อจดบันทึกระหว่างการสัมภาษณ์ประธานชุมชนและคณะกรรมการชุมชน ตลอดจนสมาชิกชุมชน ผลการวิจัย พบว่า การที่ชุมชนสวนอ้อย มีความเข้มแข็งนั้นเริ่มต้นจากการที่มีประธานชุมชนกลุ่มคณะกรรมการชุมชน และสมาชิกชุมชนที่มีความเข้มแข็งก่อน โดยลักษณะของผู้นําชุมชนที่ดีคือต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ โอบอ้อมอารี เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน อุทิศตนและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ซึ่งผู้นําชุมชนสวนอ้อยมีคุณสมบัติข้อนี้อย่างเต็มเปี่ยม สิ่งสําคัญอีกอย่าง คือ เครือข่ายภายในชุมชน เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทํากิจกรรมต่าง ๆ สําหรับชุมชนสวนอ้อย เครือข่ายความสัมพันธ์ภายในชุมชนที่เห็นเด่นชัด ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และญาติพี่น้องภายในชุมชนปัจจัยอีกอย่าง คือ เครือข่ายความสัมพันธ์ภายนอกชุมชน ได้แก่ เครือข่ายภาครัฐ เช่น สํานักงานเขตดุสิต มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นต้น นอกจากนี้กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสวนอ้อย มีการใช้กระบวนการที่มีลักษณะเน้นการพึ่งพาตนเองของชุมชน มีการอาศัยภาวะผู้นําเข้มแข็งมีการสร้างความร่วมมือและร่วมใจผลักดันการพัฒนาชุมชนของสมาชิก มีการบูรณาการด้วยวิธีการและ เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ในงานพัฒนาชุมชน มีการอาศัยและสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชน เพื่อเสริมความแข็งแรงและสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาชุมชนแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่นยืนในระยะยาว


ชุมชนสวนอ้อย


ภาวะผู้นำ
การสร้างความเข็มแข็ง
การมีส่วนร่วม

วพ HD 57.7 / ป847ภ 2564