Local cover image
Local cover image
Amazon cover image
Image from Amazon.com

การเงินคนจน : การเงินฐานรากจากมุมมองของลูกค้าในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด = The poor and their money : microfinance from a twenty-first century consumer's perspective / Stuart Rutherford และ Sukhwinder Arora เขียน ; สฤณี อาชวานันทกุล แปล.

By: Contributor(s): Material type: TextTextPublication details: กรุงเทพฯ : ซอลท์ พับลิชชิ่ง, 2563 [2020]Edition: พิมพ์ครั้งแรกDescription: 201 หน้า : ภาพประกอบISBN:
  • 9786168266137
  • 6168266135
Other title:
  • Poor and their money : microfinance from a twenty-first century consumer's perspective [Parallel title]
Subject(s): LOC classification:
  • HC79.ย6 ร63 2563
Summary: เป็นเรื่องธรรมดาถ้าเราจะคิดว่า คนจนหมายถึงคนที่ไม่ค่อยมีเงิน แปลว่าไม่น่าจะจำเป็นต้องคิดมากเรื่องการจัดการเงิน เพราะไม่ค่อยมีเงินให้จัดการ แต่ข้อเท็จจริงกลับตรงกันข้าม เพราะยิ่งมีเงินน้อย ยิ่งต้องการการดูแลและจัดการเงินมากเป็นพิเศษ สจวร์ต รัทเทอร์ฟอร์ด นักวิจัย ที่ปรึกษา และผู้ประกอบการด้านไมโครไฟแนนซ์ (microfinance ในไทยนิยมแปลว่า “การเงินขนาดจิ๋ว” หรือ “การเงินฐานราก”) ผู้คร่ำหวอดในวงการมานานกว่าสี่ทศวรรษ ร่วมกับ สุขวินเดอร์ อาโรรา เพื่อนคู่คิดของเขา เขียนหนังสือ การเงินคนจน เล่มนี้ขึ้นมาอธิบายอย่างแจ่มชัดเข้าใจง่ายว่า การจัดการเงินนั้นจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนจน เพราะพวกเขามีความจำเป็นต้องแปลงเงินออมให้เป็นเงินก้อนโตที่มีประโยชน์ เพื่อใช้จ่ายในวันนี้หรือในอนาคต ในการออมเงินของคนจน สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ ‘ตัวกลางฐานรากด้านการเงินส่วนบุคคล’ ที่ช่วยให้เขาแปลงเงินออมเป็นเงินก้อนอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้เขียนก็อธิบายรูปแบบการให้บริการของตัวกลางฐานรากที่น่าทึ่งและหลากหลายจากทั่วโลก ตั้งแต่กลไกที่คนจนออกแบบขึ้นมาช่วยเหลือกันเอง เช่น วงแชร์ ชมรมออมทรัพย์ กลุ่มออมทรัพย์ ไปจนถึงกลไกกึ่งในระบบ และบริการทางการเงินในระบบที่มีคนนอกชุมชนเข้ามาช่วยจัดตั้งหรือให้บริการ เช่น โรงรับจำนำ สหกรณ์ออมทรัพย์ และสถาบันการเงินขนาดจิ๋วหรือไมโครไฟแนนซ์ เมื่อไมโครไฟแนนซ์ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น หนังสือเล่มนี้ก็ชวนให้เราตั้งคำถามว่าการออกแบบบริการทางการเงินเหล่านี้ เป็นการออกแบบเพื่อคนจนจริงๆ หรือเปล่า? “การเงินคนจน” จะทำให้คุณเข้าใจและพฤติกรรมและความต้องการทางการเงินของคนจนอย่างแท้จริง
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Shelving location Call number Status Date due Barcode Item holds Course reserves
General Book General Book Kuakarun Nursing Library General Shelves (THAI) HC79.ย6 ร63 2563 (Browse shelf(Opens below)) Available 0000047416

การบริหารการเงินส่วนบุคคล

Total holds: 0

เป็นเรื่องธรรมดาถ้าเราจะคิดว่า คนจนหมายถึงคนที่ไม่ค่อยมีเงิน แปลว่าไม่น่าจะจำเป็นต้องคิดมากเรื่องการจัดการเงิน เพราะไม่ค่อยมีเงินให้จัดการ แต่ข้อเท็จจริงกลับตรงกันข้าม เพราะยิ่งมีเงินน้อย ยิ่งต้องการการดูแลและจัดการเงินมากเป็นพิเศษ

สจวร์ต รัทเทอร์ฟอร์ด นักวิจัย ที่ปรึกษา และผู้ประกอบการด้านไมโครไฟแนนซ์ (microfinance ในไทยนิยมแปลว่า “การเงินขนาดจิ๋ว” หรือ “การเงินฐานราก”) ผู้คร่ำหวอดในวงการมานานกว่าสี่ทศวรรษ ร่วมกับ สุขวินเดอร์ อาโรรา เพื่อนคู่คิดของเขา เขียนหนังสือ การเงินคนจน เล่มนี้ขึ้นมาอธิบายอย่างแจ่มชัดเข้าใจง่ายว่า การจัดการเงินนั้นจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนจน เพราะพวกเขามีความจำเป็นต้องแปลงเงินออมให้เป็นเงินก้อนโตที่มีประโยชน์ เพื่อใช้จ่ายในวันนี้หรือในอนาคต

ในการออมเงินของคนจน สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ ‘ตัวกลางฐานรากด้านการเงินส่วนบุคคล’ ที่ช่วยให้เขาแปลงเงินออมเป็นเงินก้อนอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้เขียนก็อธิบายรูปแบบการให้บริการของตัวกลางฐานรากที่น่าทึ่งและหลากหลายจากทั่วโลก ตั้งแต่กลไกที่คนจนออกแบบขึ้นมาช่วยเหลือกันเอง เช่น วงแชร์ ชมรมออมทรัพย์ กลุ่มออมทรัพย์ ไปจนถึงกลไกกึ่งในระบบ และบริการทางการเงินในระบบที่มีคนนอกชุมชนเข้ามาช่วยจัดตั้งหรือให้บริการ เช่น โรงรับจำนำ สหกรณ์ออมทรัพย์ และสถาบันการเงินขนาดจิ๋วหรือไมโครไฟแนนซ์

เมื่อไมโครไฟแนนซ์ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น หนังสือเล่มนี้ก็ชวนให้เราตั้งคำถามว่าการออกแบบบริการทางการเงินเหล่านี้ เป็นการออกแบบเพื่อคนจนจริงๆ หรือเปล่า?

“การเงินคนจน” จะทำให้คุณเข้าใจและพฤติกรรมและความต้องการทางการเงินของคนจนอย่างแท้จริง

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image