Local cover image
Local cover image

ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการเมืองด้านสาธารณสุข กรณีศึกษา อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 = MOTIVATIONAL FACTORS AFFECTING PEOPLE’ S PARTICIPATION IN PUBLIC HEALTH URBAN MANAGEMENT CASE : PUBLIC HEALTH VOLUNTEERS IN PUBLIC HEALTH CENTER 21

By: Material type: TextTextSeries: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมืองPublication details: กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2564.Description: 86 หน้า : ภาพประกอบ, ตารางSubject(s): NLM classification:
  • วพ WA 546.JT3
Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564 Summary: การวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการเมืองด้านสาธารณสุข กรณีศึกษา อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสํารวจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง อสส. ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง จํานวน 135 รายงานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยSummary: ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยแรงจูงใจในการมีส่วนร่วม และการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขโดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข เมื่อจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกันมีระดับความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในรายด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (p-value = 0.010) และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (p-value = 0.044) แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และกลุ่มตัวอย่างที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานต่างกันมีระดับความคิดเห็นการมีส่วนร่วมในรายด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (p-value = 0.003) แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ( p-value = 0.024) ปัจจัยแรงจูงในการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (p-value = 0.001) ด้านค่าตอบแทน สิทธิ และสวัสดิการ (p-value = 0.010) และด้านการยอมรับนับถือและความภาคภูมิใจ (p-value = 0.048) มีผลต่อการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Shelving location Call number Status Date due Barcode Item holds
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit Available eb37356
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit วพ WA 546.JT3 ม815ป 2564 (Browse shelf(Opens below)) Available 0000047604
Total holds: 0

วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564

การวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการเมืองด้านสาธารณสุข กรณีศึกษา อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสํารวจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง อสส. ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง จํานวน 135 รายงานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอย

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยแรงจูงใจในการมีส่วนร่วม และการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขโดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข เมื่อจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกันมีระดับความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในรายด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (p-value = 0.010) และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (p-value = 0.044) แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และกลุ่มตัวอย่างที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานต่างกันมีระดับความคิดเห็นการมีส่วนร่วมในรายด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (p-value = 0.003) แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ( p-value = 0.024) ปัจจัยแรงจูงในการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (p-value = 0.001) ด้านค่าตอบแทน สิทธิ และสวัสดิการ (p-value = 0.010) และด้านการยอมรับนับถือและความภาคภูมิใจ (p-value = 0.048) มีผลต่อการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image