Local cover image
Local cover image

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการลดปริมาณขยะ กรณีศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช = BEHAVIOR MODIFICATION FOR WASTE REDUCTION : A CASE STUDY OF THE PRESIDENT OFFICE OF NAVAMINDRADHIRAJ UNIVERSITY

By: Material type: TextTextSeries: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมืองPublication details: กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2563.Description: 117 หน้า : ภาพประกอบ, ตารางSubject(s): LOC classification:
  • วพ HD4482 พ718ก 2563
Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2563 Summary: ปัจจุบันทั่วโลกประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมประเด็นการจัดการขยะทั้งในพื้นที่เมืองและชนบทกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ได้รับความนิยมจากผู้คนทั่วโลกในการเดินทางมาทำกิจกรรมต่าง ๆ การมีประชากรเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะอย่างต่อเนื่อง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเป็นองค์กรในสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายการจัดการขยะ เพื่อเป็นการลดภาระการจัดการขยะของหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ จึงถือเป็นองค์กรที่สามารถเป็นต้นแบบการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ การศึกษาชนิดและปริมาณของขยะ ลักษณะการจัดการขยะ จัดทำมาตรการลดปริมาณขยะและประเมินผลของมาตรการลดปริมาณขยะในสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัย นวมินทราธิราช โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทดสอบข้อมูลทางสถิติ (SPSS) สถิติที่ใช้ทดสอบได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าสัดส่วนของประเภทขยะที่พบมากที่สุด ได้แก่ ขยะทั่วไป (ร้อยละ 85.6) รองลงมาได้แก่ขยะรีไซเคิล (ร้อยละ 7.3) และเศษอาหาร (ร้อยละ 7.1) ตามลำดับ หลังการอบรมมีการเปลี่ยนแปลงของขยะ พบว่าขยะที่พบมากที่สุดคือขยะทั่วไป (ร้อยละ 84.5) รองลงมาคือขยะรีไซเคิล (ร้อยละ 9.3) และเศษอาหาร (ร้อยละ 6.2) ตามลำดับ การศึกษาด้านความรู้ด้านการจัดการขยะ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้และความเข้าใจเพิ่มขึ้นหลังการอบรม แต่ยังมีความสับสนในบางประเด็นเท่านั้นมีแรงจูงใจในการคัดแยกขยะหลังการอบรมเพิ่มขึ้น แต่ยังคงมีความคิดเห็นน้อยเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มเพื่อให้รับผิดชอบด้านการแยกขยะของคนทั้งองค์กร และพบว่าส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการขยะหลังการอบรมลดลง แต่มีความถี่ในการปฏิบัติเพิ่มขึ้นบางพฤติกรรม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคแบบกะทันหัน ส่งผลให้มีปริมาณขยะโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีปริมาณขยะรีไซเคิลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการ Work From Home ในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาหรือโควิด 19 การให้ความรู้ด้านการจัดการขยะ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และแรงจูงใจการจัดการขยะของบุคลากร ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับส่วนงานอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากมีการศึกษาในประเด็นหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสามารถทำให้การศึกษาถูกนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างยั่งยืน
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Shelving location Call number Status Date due Barcode Item holds Course reserves
Thesis Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit Available eb37355

การจัดการขยะมูลฝอยและกากของเสียอันตราย

NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit วพ HD4482 พ718ก 2563 (Browse shelf(Opens below)) Available 0000047612
Total holds: 0

วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2563

ปัจจุบันทั่วโลกประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมประเด็นการจัดการขยะทั้งในพื้นที่เมืองและชนบทกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ได้รับความนิยมจากผู้คนทั่วโลกในการเดินทางมาทำกิจกรรมต่าง ๆ การมีประชากรเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะอย่างต่อเนื่อง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเป็นองค์กรในสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายการจัดการขยะ เพื่อเป็นการลดภาระการจัดการขยะของหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ จึงถือเป็นองค์กรที่สามารถเป็นต้นแบบการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ การศึกษาชนิดและปริมาณของขยะ ลักษณะการจัดการขยะ จัดทำมาตรการลดปริมาณขยะและประเมินผลของมาตรการลดปริมาณขยะในสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัย นวมินทราธิราช โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทดสอบข้อมูลทางสถิติ (SPSS) สถิติที่ใช้ทดสอบได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าสัดส่วนของประเภทขยะที่พบมากที่สุด ได้แก่ ขยะทั่วไป (ร้อยละ 85.6) รองลงมาได้แก่ขยะรีไซเคิล (ร้อยละ 7.3) และเศษอาหาร (ร้อยละ 7.1) ตามลำดับ หลังการอบรมมีการเปลี่ยนแปลงของขยะ พบว่าขยะที่พบมากที่สุดคือขยะทั่วไป (ร้อยละ 84.5) รองลงมาคือขยะรีไซเคิล (ร้อยละ 9.3) และเศษอาหาร (ร้อยละ 6.2) ตามลำดับ การศึกษาด้านความรู้ด้านการจัดการขยะ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้และความเข้าใจเพิ่มขึ้นหลังการอบรม แต่ยังมีความสับสนในบางประเด็นเท่านั้นมีแรงจูงใจในการคัดแยกขยะหลังการอบรมเพิ่มขึ้น แต่ยังคงมีความคิดเห็นน้อยเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มเพื่อให้รับผิดชอบด้านการแยกขยะของคนทั้งองค์กร และพบว่าส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการขยะหลังการอบรมลดลง แต่มีความถี่ในการปฏิบัติเพิ่มขึ้นบางพฤติกรรม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคแบบกะทันหัน ส่งผลให้มีปริมาณขยะโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีปริมาณขยะรีไซเคิลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการ Work From Home ในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาหรือโควิด 19 การให้ความรู้ด้านการจัดการขยะ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และแรงจูงใจการจัดการขยะของบุคลากร ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับส่วนงานอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากมีการศึกษาในประเด็นหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสามารถทำให้การศึกษาถูกนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างยั่งยืน

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image