Local cover image
Local cover image

การวิเคราะห์ปัจจัยสําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า เพื่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงของเมือง กรณีศึกษา : รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มของกรุงเทพมหานคร = IMPORTANT FACTORS ANALYSIS TO LAND USE DEVELOPMENT SURROUNDING THE PUBLIC SKY TRAIN STATION FOR URBAN RESILIENCE : A CASE STUDY OF THE DARK GREEN LINE, BANGKOK METROPOLITANADMINISTRATION (BMA)

By: Material type: TextTextSeries: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมืองPublication details: กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2564.Description: 191 หน้า : ภาพประกอบ, ตารางSubject(s): LOC classification:
  • วพ HE4201 ร369ก 2564
Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564 Summary: การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ปัจจัยสําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเมือง กรณีศึกษา: รถไฟฟ้าสายสีเขียวของกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่เป็นเขตเมือง และชานเมือง และ 2) เพื่อศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่เป็นเขตเมือง และชานเมือง โดยสถานีอโศกเป็นตัวแทนพื้นที่เขตเมือง สําหรับสถานีอุดมสุขเป็นตัวแทนพื้นที่ชานเมือง การศึกษาด้วยการศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ การลงพื้นที่เพื่อสํารวจลักษณะทางกายภาพของพื้นที่บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าของทั้ง 2 สถานี อันสอดคล้องกับแนวคิด TOD และใช้แบบประเมิน MCA สําหรับให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา จํานวน 12 คน ได้แก่ นักผังเมือง นักธุรกิจพัฒนาที่ดิน นักสังคม นักสิ่งแวดล้อม นักเศรษฐศาสตร์ และนักกฎหมาย ประเมินปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า 10 ปัจจัยSummary: ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่เป็นเขตเมือง (สถานีอโศก) มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยที่ 9 หลักเกณฑ์ตามประกาศของกฎหมายผังเมือง ปัจจัยที่ 2 การเชื่อมต่อกับที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และการเดินทางขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น ๆ ปัจจัยที่ 10 ความสําคัญด้านธุรกิจและการค้าในพื้นที่ และปัจจัยที่ 7 ราคาที่ดิน และราคาที่อยู่อาศัยโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า ตามลําดับ สําหรับปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่เป็นเขตชานเมือง (สถานีอุดมสุข) มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยที่ 9 หลักเกณฑ์ตามประกาศของกฎหมายผังเมือง ปัจจัยที่ 10 ความสําคัญด้านธุรกิจและการค้าในพื้นที่ ปัจจัยที่ 2 การเชื่อมต่อกับที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และการเดินทางขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น ๆ และปัจจัยที่ 4 ระยะทางในการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้า ตามลําดับ ดั้งนั้น พื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าอโศกจะมีแนวโน้มการพัฒนาที่เป็นไปเพื่อพัฒนาธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นเขตเมือง ที่มีราคาที่ดิน ราคาที่อยู่อาศัยสูง และเป็นแหล่งเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร สําหรับพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าอุดมสุขมีแนวโน้มการพัฒนาที่เป็นไปเพื่อการพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยหลากหลายประเภท และการพัฒนาร้านค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Shelving location Call number Status Date due Barcode Item holds
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit Available eb37363
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit วพ HE4201 ร369ก 2564 (Browse shelf(Opens below)) Available 0000047600
Total holds: 0

วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564

การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ปัจจัยสําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเมือง กรณีศึกษา: รถไฟฟ้าสายสีเขียวของกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่เป็นเขตเมือง และชานเมือง และ 2) เพื่อศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่เป็นเขตเมือง และชานเมือง โดยสถานีอโศกเป็นตัวแทนพื้นที่เขตเมือง สําหรับสถานีอุดมสุขเป็นตัวแทนพื้นที่ชานเมือง การศึกษาด้วยการศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ การลงพื้นที่เพื่อสํารวจลักษณะทางกายภาพของพื้นที่บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าของทั้ง 2 สถานี อันสอดคล้องกับแนวคิด TOD และใช้แบบประเมิน MCA สําหรับให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา จํานวน 12 คน ได้แก่ นักผังเมือง นักธุรกิจพัฒนาที่ดิน นักสังคม นักสิ่งแวดล้อม นักเศรษฐศาสตร์ และนักกฎหมาย ประเมินปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า 10 ปัจจัย

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่เป็นเขตเมือง (สถานีอโศก) มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยที่ 9 หลักเกณฑ์ตามประกาศของกฎหมายผังเมือง ปัจจัยที่ 2 การเชื่อมต่อกับที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และการเดินทางขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น ๆ ปัจจัยที่ 10 ความสําคัญด้านธุรกิจและการค้าในพื้นที่ และปัจจัยที่ 7 ราคาที่ดิน และราคาที่อยู่อาศัยโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า ตามลําดับ สําหรับปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่เป็นเขตชานเมือง (สถานีอุดมสุข) มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยที่ 9 หลักเกณฑ์ตามประกาศของกฎหมายผังเมือง ปัจจัยที่ 10 ความสําคัญด้านธุรกิจและการค้าในพื้นที่ ปัจจัยที่ 2 การเชื่อมต่อกับที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และการเดินทางขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น ๆ และปัจจัยที่ 4 ระยะทางในการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้า ตามลําดับ ดั้งนั้น พื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าอโศกจะมีแนวโน้มการพัฒนาที่เป็นไปเพื่อพัฒนาธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นเขตเมือง ที่มีราคาที่ดิน ราคาที่อยู่อาศัยสูง และเป็นแหล่งเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร สําหรับพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าอุดมสุขมีแนวโน้มการพัฒนาที่เป็นไปเพื่อการพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยหลากหลายประเภท และการพัฒนาร้านค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image