Local cover image
Local cover image

การพัฒนาที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมสําหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาอาคารเช่าการเคหะแห่งชาติ = HOUSING AND ENVIRONMENT DEVELOPMENT FOR THE LOW INCOME ELDERLY IN BANGKOK : A CASE STUDY ON RENTAL HOUSING OF NATIONAL HOUSING AUTHORITY

By: Material type: TextTextSeries: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมืองPublication details: กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2564.Description: 140 หน้า : ภาพประกอบ, ตารางSubject(s): LOC classification:
  • วพ HD7287.92.ท9 ก944ก 2564
Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564 Summary: ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super - Aged Society) ในปี 2574 การพัฒนาที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมสําหรับผู้สูงอายุจึงมีความจําเป็นต่อการพัฒนาเมือง ซึ่งการทําให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้ถือเป็นหนึ่งในภารกิจสําคัญของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมในรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุในเมืองที่มีรายได้น้อย โดยใช้กรณีศึกษาอาคารเช่าการเคหะแห่งชาติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบการประเมินด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมสําหรับผู้สูงอายุ เพื่อประเมินโครงการเคหะชุมชนรามอินทรา โครงการเคหะชุมชนห้วยขวาง และโครงการเคหะชุมชนดินแดง เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามในส่วนผู้นําชุมชนในโครงการอาคารเช่าการเคหะแห่งชาติ จํานวน 5 ท่าน ต่อ 1 ชุมชน จํานวน3 ชุมชน รวมทั้งสิ้น 15 คน และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยผู้ให้ข้อมูลสําคัญ ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ จากกลุ่มตัวแทน 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้กําหนดนโยบาย กลุ่มผู้ปฏิบัติการวิชาาชีพสถาปนิก และกลุ่มผู้ปฏิบัติการชุมชน จํานวน 6 คนSummary: ผลการวิจัยพบว่า อาคารเช่าในพื้นที่กรณีศึกษามีคะแนนประเมินน้อยกว่าร้อยละ 60 โดยพบว่าห้องน้ํายังขาดความเหมาะสม ขาดอุปกรณ์ราวจับ ขาดอุปกรณ์สัญจรระหว่างชั้น และขาดทางลาดที่เหมาะสม จากการศึกษาวิจัยจึงได้เสนอแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมสําหรับผู้สูงอายุแบ่งออกเป็นการพัฒนา 3 ด้าน ดังนี้ 1) การพัฒนาด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม ควรคํานึงถึงความต้องการของผู้สูงอายุขั้นพื้นฐาน ควรวางแผนการ ดําเนินการพัฒนาที่อยู่อาศัยสําหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ระดับการเลือกทําเลที่ตั้งไปจนถึงการวางผังโครงการ และคํานึงถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี 2) การพัฒนาด้านสังคมควรจัดเตรียมพื้นที่สําหรับรองรับกิจกรรมตามความต้องการของผู้สูงอายุอย ่างพอเพียงและเหมาะสม 3) การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ควรจัดที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพักอาศัยในสถานที่เดิมได้
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Shelving location Call number Status Date due Barcode Item holds
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit วพ HD7287.92.ท9 ก944ก 2564 (Browse shelf(Opens below)) Available 0000047607
NMU Thesis NMU Thesis Kuakarun Nursing Library NMU IR Processing unit Available eb37303
Total holds: 0

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีการศึกษา 2564

ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super - Aged Society) ในปี 2574 การพัฒนาที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมสําหรับผู้สูงอายุจึงมีความจําเป็นต่อการพัฒนาเมือง ซึ่งการทําให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้ถือเป็นหนึ่งในภารกิจสําคัญของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมในรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุในเมืองที่มีรายได้น้อย โดยใช้กรณีศึกษาอาคารเช่าการเคหะแห่งชาติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบการประเมินด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมสําหรับผู้สูงอายุ เพื่อประเมินโครงการเคหะชุมชนรามอินทรา โครงการเคหะชุมชนห้วยขวาง และโครงการเคหะชุมชนดินแดง เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามในส่วนผู้นําชุมชนในโครงการอาคารเช่าการเคหะแห่งชาติ จํานวน 5 ท่าน ต่อ 1 ชุมชน จํานวน3 ชุมชน รวมทั้งสิ้น 15 คน และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยผู้ให้ข้อมูลสําคัญ ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ จากกลุ่มตัวแทน 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้กําหนดนโยบาย กลุ่มผู้ปฏิบัติการวิชาาชีพสถาปนิก และกลุ่มผู้ปฏิบัติการชุมชน จํานวน 6 คน

ผลการวิจัยพบว่า อาคารเช่าในพื้นที่กรณีศึกษามีคะแนนประเมินน้อยกว่าร้อยละ 60 โดยพบว่าห้องน้ํายังขาดความเหมาะสม ขาดอุปกรณ์ราวจับ ขาดอุปกรณ์สัญจรระหว่างชั้น และขาดทางลาดที่เหมาะสม จากการศึกษาวิจัยจึงได้เสนอแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมสําหรับผู้สูงอายุแบ่งออกเป็นการพัฒนา 3 ด้าน ดังนี้ 1) การพัฒนาด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม ควรคํานึงถึงความต้องการของผู้สูงอายุขั้นพื้นฐาน ควรวางแผนการ ดําเนินการพัฒนาที่อยู่อาศัยสําหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ระดับการเลือกทําเลที่ตั้งไปจนถึงการวางผังโครงการ และคํานึงถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี 2) การพัฒนาด้านสังคมควรจัดเตรียมพื้นที่สําหรับรองรับกิจกรรมตามความต้องการของผู้สูงอายุอย ่างพอเพียงและเหมาะสม 3) การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ควรจัดที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพักอาศัยในสถานที่เดิมได้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image