Local cover image
Local cover image
Amazon cover image
Image from Amazon.com

ปัญญา-มนุษย์-ประดิษฐ์ / Brian Christian เขียน ; ทีปกร วุฒิพิทยามงคล แปล.

By: Contributor(s): Material type: TextTextPublication details: กรุงเทพฯ : ซอลท์, 2562 [2019]Edition: Description: 372 หน้าISBN:
  • 9786168266014
  • 6168266011
Subject(s): LOC classification:
  • BD450 ค46 2562
Contents:
อารัมภบท --- บทนำ : มนุษย์ที่เป็นมนุษย์ที่สุด --- ยืนยันตัวตน --- วิญญาณอพยพ --- ปรับเปลี่ยนตามหน้างานหรือวิธีการทางเทคนิคล้วน ๆ --- ออกจากตำรา --- ต่อต้านความเชี่ยวชาญ --- ทะลุกลางปล้อง --- พยานที่แย่ที่สุดในโลก --- ไม่รัดกุม --- สถานะประหลาดใจสูง --- บทสรุป : มนุษย์ที่เป็นมนุษย์ที่สุด --- ปัจฉิมบท : ความสวยงามที่ถูกมองผ่านของตู้เครื่องแก้ว
Summary: คุณเคย "คุย" กับคอมพิวเตอร์ไหม? เมื่อหลายปีก่อน คำถามนี้คงได้รับคำตอบอย่างเดียวว่า "ไม่" หรืออาจถูกคิดว่าเป็นคำถามที่ออกมาจากหนังไซไฟสักเรื่อง แต่ปัจจุบันที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์เข้ามาข้องเกี่ยวในแทบทุกมิติของชีวิต การมีปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ก็ไม่ใช่เป็นเพียงจินตนาการอีกต่อไป แค่คุณสั่งซื้อของออนไลน์ คุณก็จะได้จดหมายตอบกลับจากระบบคอมพิวเตอร์ของทางร้านแล้ว บางครั้งคุณโทรศัพท์ไปองค์กรใหญ่ๆ สักแห่ง หรือเข้าเว็บไซต์ขององค์กรนั้น ก็อาจได้คุยกับผู้ช่วยตอบคำถามซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ แทนที่จะเป็นพนักงานมนุษย์จริงๆ หรือแม้แต่ในโทรศัพท์มือถือของคุณเอง เวลาคุณพิมพ์ข้อความสักอย่าง คอมพิวเตอร์ก็พยายามช่วยแต่งประโยคให้คุณจนจบ เหล่านี้เป็นข้อบ่งชี้ว่าคอมพิวเตอร์กำลัง "คิด" และ "สื่อสาร" กับเราได้ใช่ไหม? นี่คือคำถามสำคัญที่เกิดขึ้นพร้อมกำเนิดของคอมพิวเตอร์เช่นกัน "จะมีวันหนึ่งไหมที่คอมพิวเตอร์คิดเองได้" และที่สำคัญกว่า คือ "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวันนั้นมาถึงแล้ว" แอลัน ทัวริง บิดาแห่งวงการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เสนอแนะวิธีตอบคำถามนี้ไว้ตั้งแต่ปี 1950 เป็นวิธีที่ยังใช้กันมาจนปัจจุบัน รู้จักกันในชื่อ “การทดสอบทัวริง” "ไบรอัน คริสเตียน" ผู้เขียน "ปัญญา-มนุษย์-ประดิษฐ์" ของเรา ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ แต่เขาสนใจการทดสอบนี้อย่างยิ่งยวด และมองว่าการทดสอบทัวริงไม่ใช่เพียงเครื่องทดสอบว่าคอมพิวเตอร์คิดได้เหมือนมนุษย์หรือยัง แต่มันยังเป็นเครื่องมือสำรวจด้วยว่า แล้วมนุษย์เองล่ะ หลงลืมวิธีแสดงความเป็นมนุษย์ไปหรือยังในโลกที่มีคอมพิวเตอร์เป็นคู่แข่งเช่นทุกวันนี้ ด้วยมุมมองของนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักปรัชญา และกวี ไบรอัน คริสเตียน พาเราเดินทางไปสู่โลกแห่งการแข่งขันระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ ไม่เพียงสำรวจความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงมนุษย์เข้าไปทุกวัน แต่ยังสำรวจตัวตนของเรา ความหมายในการมีชีวิตอยู่ของเรา และที่สำคัญคือวิธีสร้างสัมพันธ์ระหว่างเรากับมนุษย์คนอื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่คอมพิวเตอร์พยายามทำอยู่เช่นกัน สิ่งที่ผู้เขียนค้นพบในการเดินทางครั้งนี้จะช่วยให้คุณละสายตาจากคอมพิวเตอร์ และหวนกลับมามองตัวเอง มองคนข้างตัว แล้วอาจจะตั้งคำถามขึ้นบ้างว่า "เราเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุดแล้วหรือยัง"
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)

แปลจาก: The most human human: what talking with computers teaches us about what it means to be alive.

อารัมภบท --- บทนำ : มนุษย์ที่เป็นมนุษย์ที่สุด --- ยืนยันตัวตน --- วิญญาณอพยพ --- ปรับเปลี่ยนตามหน้างานหรือวิธีการทางเทคนิคล้วน ๆ --- ออกจากตำรา --- ต่อต้านความเชี่ยวชาญ --- ทะลุกลางปล้อง --- พยานที่แย่ที่สุดในโลก --- ไม่รัดกุม --- สถานะประหลาดใจสูง --- บทสรุป : มนุษย์ที่เป็นมนุษย์ที่สุด --- ปัจฉิมบท : ความสวยงามที่ถูกมองผ่านของตู้เครื่องแก้ว

คุณเคย "คุย" กับคอมพิวเตอร์ไหม? เมื่อหลายปีก่อน คำถามนี้คงได้รับคำตอบอย่างเดียวว่า "ไม่" หรืออาจถูกคิดว่าเป็นคำถามที่ออกมาจากหนังไซไฟสักเรื่อง แต่ปัจจุบันที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์เข้ามาข้องเกี่ยวในแทบทุกมิติของชีวิต การมีปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ก็ไม่ใช่เป็นเพียงจินตนาการอีกต่อไป แค่คุณสั่งซื้อของออนไลน์ คุณก็จะได้จดหมายตอบกลับจากระบบคอมพิวเตอร์ของทางร้านแล้ว บางครั้งคุณโทรศัพท์ไปองค์กรใหญ่ๆ สักแห่ง หรือเข้าเว็บไซต์ขององค์กรนั้น ก็อาจได้คุยกับผู้ช่วยตอบคำถามซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ แทนที่จะเป็นพนักงานมนุษย์จริงๆ หรือแม้แต่ในโทรศัพท์มือถือของคุณเอง เวลาคุณพิมพ์ข้อความสักอย่าง คอมพิวเตอร์ก็พยายามช่วยแต่งประโยคให้คุณจนจบ

เหล่านี้เป็นข้อบ่งชี้ว่าคอมพิวเตอร์กำลัง "คิด" และ "สื่อสาร" กับเราได้ใช่ไหม? นี่คือคำถามสำคัญที่เกิดขึ้นพร้อมกำเนิดของคอมพิวเตอร์เช่นกัน "จะมีวันหนึ่งไหมที่คอมพิวเตอร์คิดเองได้" และที่สำคัญกว่า คือ "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวันนั้นมาถึงแล้ว" แอลัน ทัวริง บิดาแห่งวงการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เสนอแนะวิธีตอบคำถามนี้ไว้ตั้งแต่ปี 1950 เป็นวิธีที่ยังใช้กันมาจนปัจจุบัน รู้จักกันในชื่อ “การทดสอบทัวริง”

"ไบรอัน คริสเตียน" ผู้เขียน "ปัญญา-มนุษย์-ประดิษฐ์" ของเรา ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ แต่เขาสนใจการทดสอบนี้อย่างยิ่งยวด และมองว่าการทดสอบทัวริงไม่ใช่เพียงเครื่องทดสอบว่าคอมพิวเตอร์คิดได้เหมือนมนุษย์หรือยัง แต่มันยังเป็นเครื่องมือสำรวจด้วยว่า แล้วมนุษย์เองล่ะ หลงลืมวิธีแสดงความเป็นมนุษย์ไปหรือยังในโลกที่มีคอมพิวเตอร์เป็นคู่แข่งเช่นทุกวันนี้ ด้วยมุมมองของนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักปรัชญา และกวี ไบรอัน คริสเตียน พาเราเดินทางไปสู่โลกแห่งการแข่งขันระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ ไม่เพียงสำรวจความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงมนุษย์เข้าไปทุกวัน แต่ยังสำรวจตัวตนของเรา ความหมายในการมีชีวิตอยู่ของเรา และที่สำคัญคือวิธีสร้างสัมพันธ์ระหว่างเรากับมนุษย์คนอื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่คอมพิวเตอร์พยายามทำอยู่เช่นกัน

สิ่งที่ผู้เขียนค้นพบในการเดินทางครั้งนี้จะช่วยให้คุณละสายตาจากคอมพิวเตอร์ และหวนกลับมามองตัวเอง มองคนข้างตัว แล้วอาจจะตั้งคำถามขึ้นบ้างว่า "เราเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุดแล้วหรือยัง"

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image