ผลของโปรแกรมการจัดการตนเอง ของบุคคลและครอบครัวด้านการออกกําลังกายต่อความสามารถ ในการออกกําลังกายของผู้สูงอายุภายหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ

กมลชนก จี้อาทิตย์

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเอง ของบุคคลและครอบครัวด้านการออกกําลังกายต่อความสามารถ ในการออกกําลังกายของผู้สูงอายุภายหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ - กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 2565 - พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ .

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา

โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นปัญหาสุขภาพและเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้สูงอายุทั่วโลก แม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยวิธีขยายหลอดเลือดหัวใจ แต่กลับพบว่ามีโอกาสกลับมาตีบซ้ําได้ ซึ่งการออกกําลังกายอย่างเหมาะสมสามารถลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ําในผู้สูงอายุได้
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวด้านการออกกําลังกายต่อความสามารถในการออกกําลังกายของผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และได้รับการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
จํานวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จํานวน 30 คน ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวด้านการออกกําลังกาย และกลุ่มควบคุม จํานวน 30 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวด้านการออกกําลังกาย แบบบันทึกการทดสอบความสามารถในการออกกําลังกาย และแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกําลังกายของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติค่าที
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการออกกําลังกายและความสามารถในการออกกําลังกาย หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ดังนั้น พยาบาลและทีมสุขภาพควรนําโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวด้านการออกกําลังกายไปส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่ได้รับการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจให้ฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกาย เพื่อลดอุบัติการณ์การกําเริบซ้ําของหลอดเลือดหัวใจ


ผู้สูงอายุ -- หลอดเลือดหัวใจ
การออกกําลังกาย

วพ WG 330 / ก65 2565