ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุน้อย = THE EFFECTS OF PROMOTING PERCEPTION OF HEALTH BELIEFS PROGRAM COMBINED WITH MOBILE APPLICATION ON PREVENTIVE BEHAVIORS IN YOUNG ADULTS AT RISK OF STROKE

โยฮันนา ฤทธิชัย

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุน้อย = THE EFFECTS OF PROMOTING PERCEPTION OF HEALTH BELIEFS PROGRAM COMBINED WITH MOBILE APPLICATION ON PREVENTIVE BEHAVIORS IN YOUNG ADULTS AT RISK OF STROKE - กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2565. - 158 หน้า : ภาพประกอบ, ตาราง. - พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ .

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา

โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก ซึ่งพบมากขึ้นในประชากรที่มีอายุน้อยลง ส่งผลกระทบมากมายต่อผู้รอดชีวิต การมีพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 18-45 ปี ที่เข้ารับบริการ ณ คลินิกอายุรกรรมทั่วไป โรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร จํานวน 50 คน กลุ่มทดลอง 25 คน ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการใช้แอปพลิเคชัน กลุ่มควบคุม 25 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือหลักที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการใช้แอปพลิเคชัน และแบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมีค่า CVI เท่ากับ .96 ค่า Cronbach’s Alpha เท่ากับ .72 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และสถิติค่าที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมฯ ช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองที่มีอายุน้อยมีพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในที่ระดับสูงขึ้นได้ควรนําไปพัฒนาใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรค กลุ่มอื่น ๆ ต่อไป


โรคหลอดเลือดสมองอายุน้อย
พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
ความเชื่อด้านสุขภาพ
โรคหลอดเลือดสมอง

วพ WY152.5 / ย993ผ 2565