กลไกและกระบวนการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง กรณีศึกษา : ชุมชนท่าน้ำสามเสน กรุงเทพมหานคร = MECHANISMS AND PROCESS AFFECT THE QUALITY OF LIFE FOR THE ELDERLY IN URBAN COMMUNITY : A CASE STUDY OF THANAM SAMSEN COMMUNITY BANGKOK

ธัญลักษณ์ ชาญณรงค์

กลไกและกระบวนการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง กรณีศึกษา : ชุมชนท่าน้ำสามเสน กรุงเทพมหานคร = MECHANISMS AND PROCESS AFFECT THE QUALITY OF LIFE FOR THE ELDERLY IN URBAN COMMUNITY : A CASE STUDY OF THANAM SAMSEN COMMUNITY BANGKOK - กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2564. - 104 หน้า : ภาพประกอบ, ตาราง. - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง . - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง .

วิทยานิพนธ์นี เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง

การศึกษาเรื่องกลไกและกระบวนการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง กรณีศึกษา: ชุมชนท่าน้ำสามเสน กรุงเทพมหานคร ภายใต้การสนับสนุนทุนการทำวิจัยจากมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชโดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อศึกษากลไกที่สำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชนท่าน้ำสามเสน และ 2) เพื่อศึกษากระบวนการที่สำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชนท่าน้ำสามเสน เพื่อศึกษากลไกและกระบวนการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ โดยมีชุมชนท่าน้ำสามเสนเป็นตัวแทนพื้นที่ในชุมชนเมือง การศึกษาศึกษาด้วยจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) เป็นหลักและศึกษาจากเอกสาร การลงพื้นที่สัมภาษณ์เพื่อสำรวจลักษณะทางกายภาพของชุมชนท่าน้ำสามเสน และสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) และกลุ่มผู้สูงอายุ จนได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกเพื่อสังเคราะห์ถึงกลไกและกระบวนการสร้างคุณภาพชีวิต ที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชนท่าน้ำสามเสน ผลการศึกษา พบว่า กลไกที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ คือ กลุ่มผู้นำ (คณะกรรมการชุมชน), กลุ่มเครือข่ายความสัมพันธ์ทั งภายในและภายนอกชุมชน (กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข,ชมรมผู้สูงอายุ) และกิจกรรมภายในชุมชน (กิจกรรมทางศาสนา ประเพณี และวันสำคัญต่างๆ) และกระบวนการที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ คือ การมีส่วนร่วม (ผู้นำชุมชน ประชาชนข้าราชการ), การรวมกลุ่ม (คณะกรรมการชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข และชมรมผู้สูงอายุ) และการสร้างเครือข่าย (ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา) ดังนั้น กระบวนการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สามารถใช้ชมรมผู้สูงอายุเป็นฐานในการขับเคลื่อนงานได้ ซึ่งถ้าชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็งก็จะสามารถดึงสมาชิกภายในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนได้ และหากชุมชนที่มีผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขไม่ว่าจะมีกิจกรรมเกิดขึ้นเมื่อใดก็จะมีผู้เข้ากิจกรรมต่างๆ อยู่เสมอ


กลไก
กระบวนการ
การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ชุมชนเมือง
ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ--คุณภาพชีวิต--การพัฒนา
ผู้สูงอายุในเมือง

วพ WT20 / ธ571ก 2564