รัฐศาสตร์ : ทฤษฎี แนวความคิด ปัญหาสำคัญ และแนวทางศึกษาวิเคราะห์การเมือง /

ทินพันธุ์ นาคะตะ,

รัฐศาสตร์ : ทฤษฎี แนวความคิด ปัญหาสำคัญ และแนวทางศึกษาวิเคราะห์การเมือง / รัฐศาสตร์ ทฤษฎี แนวความคิด ปัญหาสำคัญ และแนวทางศึกษาวิเคราะห์การเมือง. ทินพันธุ์ นาคะตะ. - พิมพ์ครั้งที่ 1. - กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563. - 505 หน้า.

ภาคที่หนึ่ง รัฐศาสาตร์ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณถึงทศวรรษ 1960 : การศึกษาวิชารัฐศาสตร์ -- สาขาทฤษฎีการเมือง : ทฤษฎีการเมือง -- ทฤษฎีการเมืองโบราณกับทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่ : ความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลง -- ธรรมชาติของมนุษย์ในการเมือง -- อำนาจและอำนาจหน้าที่ -- ความชอบธรรมในการปกครอง -- จริยธรรมในการปกครอง -- นโยบายสาธารณะ -- การปฎิวัติ -- สาขาการเมืองเปรียบเทียบ : การเมืองเปรียบเทียบ : ประเด็นปัญหา แนวความคิด และแนวทางศึกษาวิเคราะห์ -- การเมืองของประเทศที่กำลังพัฒนา -- การปกครองระบอบประชาธิปไตย -- การปกครองระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ -- วัฒนธรรมทางการเมืองเปรียบเทียบ -- กลุ่มผลประโยชน์เปรียบเทียบ -- พรรคการเมืองเปรียบเทียบ -- ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารเปรียบเทียบ -- การพัฒนาทางการเมือง : ลักษณะและปัจจัยเอื้ออำนวย -- สาขาการเมืองระหว่างประเทศ : ทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศ -- นโยบายต่างประเทศ -- สงครามและสันติภาพ -- องค์การสหประชาชาติกับการรักษาความสงบระหว่างประเทศ -- การรวมตัวกันในภูมิภาค -- การเปลี่ยนแปลงในระบบการเมืองระหว่างประเทศ -- ภาคที่สอง รัฐศาสตร์ ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ถึงปัจจุบัน : รัฐศาสตร์ทศวรรษ 1970 -- รัฐศาสตร์ทศวรรษ 1980 -- รัฐศาสตร์ทศวรรษ 1990 -- รัฐศาสตร์ทศวรรษ 2000 -- รัฐศาสตร์ปัจจุบัน

หนังสือ เล่มนี้ประกอบด้วยองค์ความรู้หรือทฤษฎี และผลการศึกษาวิจัย เรื่องการเมือง ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ จนถึงยุคร่วมสมัยที่เน้นทฤษฎี แนวความคิด ปัญหาสำคัญ และแนวทางศึกษาวิเคราะห์การเมืองเป็นหลัก ผู้เขียนพยายามชี้ให้เห็นว่า ทฤษฎีการเมืองเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาเรื่องการเมืองในทุก ๆ สาขา วิชา เเละ ประเด็นปัญหา ทั้งในระดับมหภาคเเละจุลภาค เพราะมันเป็นสิ่งนำทางของการวิจัย หรือกรอบเเนวความคิดในการวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าว อนึ่งทฤษฎีการเมืองจะเชื่อถือได้ต้องอาศัยการเมืองเปรียบเทียบ เเละการเมืองของประเทศหนึ่ง ๆ ย่อมดำรงอยู่ในระบบการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งเเวดล้อมของมันด้วย “ครอบคลุมวิวัฒนาการ ขอบข่าย แนวการศึกษา และสาขาต่าง ๆ ของรัฐศาสตร์ เหมาะสำหรับนิสิตนักศึกษา ปริญญาตรีระดับสูงและปริญญาโท มีลักษณะเด่นอยู่หลายประการ ประการที่ 1 (ผู้เขียน) เป็นผู้เขียนภาษาไทยได้ดีเป็นพิเศษ มีลักษณะการเขียนที่ สั้น เข้าใจง่าย เป็นภาษาที่อ่านแล้วไม่ต้องแปลไทยเป็นไทยอีก ประการที่ 2 ตำรารัฐศาสตร์ในแนวนี้มีน้อยที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือเกือบไม่มี ประการที่ 3 พยายามอธิบายทฤษฎีและแนวความคิดที่มองย้อนกลับไปในอดีต เพื่อชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการ รวมทั้งชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีในปัจจุบันมีรากฐานมาจากอดีต ประการที่ 4 หนังสือรัฐศาสตร์ที่เขียนโดยคนไทยมักจะให้ความสำคัญต่อทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่น้อย (แต่หนังสือเล่มนี้) มีทั้งทฤษฎีปทัสถานและเชิงประจักษ์ สรุปเป็นหนังสือที่มีคุณค่า เป็นแนวทางศึกษาที่มีผู้เขียนไว้น้อยในประเทศไทย” (รศ. ดร.อุทัย เลาหวิเชียร ในวารสารสังคมศาสตร์, ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 , มิถุนายน 2525, หน้า 126-130) “เป็นหนังสือที่การจัดเรื่องราว มีความสอดคล้องกัน มีเนื้อหาที่ครอบคลุมจุดประสงค์ของเรื่อง รวมทั้งมีจรรยาบรรณและการใช้ภาษาดีมาก ประณีตทางวิชาการสูงมาก ให้ทั้งความรู้และกระตุ้นให้เกิดความคิด เป็นประโยชนแก่นิสิตนักศึกษา เฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนปริญญาเอก”


9789740339083


รัฐศาสตร์
การเมือง--ทฤษฎี
การเมืองเปรียบเทียบ
การเมืองของโลก

JA69 / ท519ร 2563