Local cover image
Local cover image
Amazon cover image
Image from Amazon.com

ปัญญา-มนุษย์-ประดิษฐ์ / Brian Christian เขียน ; ทีปกร วุฒิพิทยามงคล แปล.

By: Contributor(s): Material type: TextTextPublication details: กรุงเทพฯ : ซอลท์, 2562 [2019]Edition: Description: 372 หน้าISBN:
  • 9786168266014
  • 6168266011
Subject(s): LOC classification:
  • BD450 ค46 2562
Contents:
อารัมภบท --- บทนำ : มนุษย์ที่เป็นมนุษย์ที่สุด --- ยืนยันตัวตน --- วิญญาณอพยพ --- ปรับเปลี่ยนตามหน้างานหรือวิธีการทางเทคนิคล้วน ๆ --- ออกจากตำรา --- ต่อต้านความเชี่ยวชาญ --- ทะลุกลางปล้อง --- พยานที่แย่ที่สุดในโลก --- ไม่รัดกุม --- สถานะประหลาดใจสูง --- บทสรุป : มนุษย์ที่เป็นมนุษย์ที่สุด --- ปัจฉิมบท : ความสวยงามที่ถูกมองผ่านของตู้เครื่องแก้ว
Summary: คุณเคย "คุย" กับคอมพิวเตอร์ไหม? เมื่อหลายปีก่อน คำถามนี้คงได้รับคำตอบอย่างเดียวว่า "ไม่" หรืออาจถูกคิดว่าเป็นคำถามที่ออกมาจากหนังไซไฟสักเรื่อง แต่ปัจจุบันที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์เข้ามาข้องเกี่ยวในแทบทุกมิติของชีวิต การมีปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ก็ไม่ใช่เป็นเพียงจินตนาการอีกต่อไป แค่คุณสั่งซื้อของออนไลน์ คุณก็จะได้จดหมายตอบกลับจากระบบคอมพิวเตอร์ของทางร้านแล้ว บางครั้งคุณโทรศัพท์ไปองค์กรใหญ่ๆ สักแห่ง หรือเข้าเว็บไซต์ขององค์กรนั้น ก็อาจได้คุยกับผู้ช่วยตอบคำถามซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ แทนที่จะเป็นพนักงานมนุษย์จริงๆ หรือแม้แต่ในโทรศัพท์มือถือของคุณเอง เวลาคุณพิมพ์ข้อความสักอย่าง คอมพิวเตอร์ก็พยายามช่วยแต่งประโยคให้คุณจนจบ เหล่านี้เป็นข้อบ่งชี้ว่าคอมพิวเตอร์กำลัง "คิด" และ "สื่อสาร" กับเราได้ใช่ไหม? นี่คือคำถามสำคัญที่เกิดขึ้นพร้อมกำเนิดของคอมพิวเตอร์เช่นกัน "จะมีวันหนึ่งไหมที่คอมพิวเตอร์คิดเองได้" และที่สำคัญกว่า คือ "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวันนั้นมาถึงแล้ว" แอลัน ทัวริง บิดาแห่งวงการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เสนอแนะวิธีตอบคำถามนี้ไว้ตั้งแต่ปี 1950 เป็นวิธีที่ยังใช้กันมาจนปัจจุบัน รู้จักกันในชื่อ “การทดสอบทัวริง” "ไบรอัน คริสเตียน" ผู้เขียน "ปัญญา-มนุษย์-ประดิษฐ์" ของเรา ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ แต่เขาสนใจการทดสอบนี้อย่างยิ่งยวด และมองว่าการทดสอบทัวริงไม่ใช่เพียงเครื่องทดสอบว่าคอมพิวเตอร์คิดได้เหมือนมนุษย์หรือยัง แต่มันยังเป็นเครื่องมือสำรวจด้วยว่า แล้วมนุษย์เองล่ะ หลงลืมวิธีแสดงความเป็นมนุษย์ไปหรือยังในโลกที่มีคอมพิวเตอร์เป็นคู่แข่งเช่นทุกวันนี้ ด้วยมุมมองของนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักปรัชญา และกวี ไบรอัน คริสเตียน พาเราเดินทางไปสู่โลกแห่งการแข่งขันระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ ไม่เพียงสำรวจความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงมนุษย์เข้าไปทุกวัน แต่ยังสำรวจตัวตนของเรา ความหมายในการมีชีวิตอยู่ของเรา และที่สำคัญคือวิธีสร้างสัมพันธ์ระหว่างเรากับมนุษย์คนอื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่คอมพิวเตอร์พยายามทำอยู่เช่นกัน สิ่งที่ผู้เขียนค้นพบในการเดินทางครั้งนี้จะช่วยให้คุณละสายตาจากคอมพิวเตอร์ และหวนกลับมามองตัวเอง มองคนข้างตัว แล้วอาจจะตั้งคำถามขึ้นบ้างว่า "เราเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุดแล้วหรือยัง"
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Shelving location Call number Status Date due Barcode Item holds
General Book General Book Kuakarun Nursing Library Shelving Cart BD450 ค46 2562 (Browse shelf(Opens below)) Available 0000047354
Total holds: 0

แปลจาก: The most human human: what talking with computers teaches us about what it means to be alive.

อารัมภบท --- บทนำ : มนุษย์ที่เป็นมนุษย์ที่สุด --- ยืนยันตัวตน --- วิญญาณอพยพ --- ปรับเปลี่ยนตามหน้างานหรือวิธีการทางเทคนิคล้วน ๆ --- ออกจากตำรา --- ต่อต้านความเชี่ยวชาญ --- ทะลุกลางปล้อง --- พยานที่แย่ที่สุดในโลก --- ไม่รัดกุม --- สถานะประหลาดใจสูง --- บทสรุป : มนุษย์ที่เป็นมนุษย์ที่สุด --- ปัจฉิมบท : ความสวยงามที่ถูกมองผ่านของตู้เครื่องแก้ว

คุณเคย "คุย" กับคอมพิวเตอร์ไหม? เมื่อหลายปีก่อน คำถามนี้คงได้รับคำตอบอย่างเดียวว่า "ไม่" หรืออาจถูกคิดว่าเป็นคำถามที่ออกมาจากหนังไซไฟสักเรื่อง แต่ปัจจุบันที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์เข้ามาข้องเกี่ยวในแทบทุกมิติของชีวิต การมีปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ก็ไม่ใช่เป็นเพียงจินตนาการอีกต่อไป แค่คุณสั่งซื้อของออนไลน์ คุณก็จะได้จดหมายตอบกลับจากระบบคอมพิวเตอร์ของทางร้านแล้ว บางครั้งคุณโทรศัพท์ไปองค์กรใหญ่ๆ สักแห่ง หรือเข้าเว็บไซต์ขององค์กรนั้น ก็อาจได้คุยกับผู้ช่วยตอบคำถามซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ แทนที่จะเป็นพนักงานมนุษย์จริงๆ หรือแม้แต่ในโทรศัพท์มือถือของคุณเอง เวลาคุณพิมพ์ข้อความสักอย่าง คอมพิวเตอร์ก็พยายามช่วยแต่งประโยคให้คุณจนจบ

เหล่านี้เป็นข้อบ่งชี้ว่าคอมพิวเตอร์กำลัง "คิด" และ "สื่อสาร" กับเราได้ใช่ไหม? นี่คือคำถามสำคัญที่เกิดขึ้นพร้อมกำเนิดของคอมพิวเตอร์เช่นกัน "จะมีวันหนึ่งไหมที่คอมพิวเตอร์คิดเองได้" และที่สำคัญกว่า คือ "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวันนั้นมาถึงแล้ว" แอลัน ทัวริง บิดาแห่งวงการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เสนอแนะวิธีตอบคำถามนี้ไว้ตั้งแต่ปี 1950 เป็นวิธีที่ยังใช้กันมาจนปัจจุบัน รู้จักกันในชื่อ “การทดสอบทัวริง”

"ไบรอัน คริสเตียน" ผู้เขียน "ปัญญา-มนุษย์-ประดิษฐ์" ของเรา ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ แต่เขาสนใจการทดสอบนี้อย่างยิ่งยวด และมองว่าการทดสอบทัวริงไม่ใช่เพียงเครื่องทดสอบว่าคอมพิวเตอร์คิดได้เหมือนมนุษย์หรือยัง แต่มันยังเป็นเครื่องมือสำรวจด้วยว่า แล้วมนุษย์เองล่ะ หลงลืมวิธีแสดงความเป็นมนุษย์ไปหรือยังในโลกที่มีคอมพิวเตอร์เป็นคู่แข่งเช่นทุกวันนี้ ด้วยมุมมองของนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักปรัชญา และกวี ไบรอัน คริสเตียน พาเราเดินทางไปสู่โลกแห่งการแข่งขันระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ ไม่เพียงสำรวจความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงมนุษย์เข้าไปทุกวัน แต่ยังสำรวจตัวตนของเรา ความหมายในการมีชีวิตอยู่ของเรา และที่สำคัญคือวิธีสร้างสัมพันธ์ระหว่างเรากับมนุษย์คนอื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่คอมพิวเตอร์พยายามทำอยู่เช่นกัน

สิ่งที่ผู้เขียนค้นพบในการเดินทางครั้งนี้จะช่วยให้คุณละสายตาจากคอมพิวเตอร์ และหวนกลับมามองตัวเอง มองคนข้างตัว แล้วอาจจะตั้งคำถามขึ้นบ้างว่า "เราเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุดแล้วหรือยัง"

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image