TY - BOOK AU - รัชดาพร ธรรมไหว TI - การวิเคราะห์ปัจจัยสําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า เพื่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงของเมือง กรณีศึกษา: รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มของกรุงเทพมหานคร = IMPORTANT FACTORS ANALYSIS TO LAND USE DEVELOPMENT SURROUNDING THE PUBLIC SKY TRAIN STATION FOR URBAN RESILIENCE : A CASE STUDY OF THE DARK GREEN LINE, BANGKOK METROPOLITANADMINISTRATION (BMA) T2 - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง AV - วพ HE4201 ร369ก 2564 PY - 2564/// CY - กรุงเทพฯ PB - มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช KW - การใช้ที่ดิน KW - รถไฟฟ้า KW - เขตเมือง KW - ชานเมือง KW - แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน KW - การเปลี่ยนแปลงของเมือง N1 - วิทยานิพนธ์นีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา N2 - การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ปัจจัยสําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเมือง กรณีศึกษา: รถไฟฟ้าสายสีเขียวของกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่เป็นเขตเมือง และชานเมือง และ 2) เพื่อศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่เป็นเขตเมือง และชานเมือง โดยสถานีอโศกเป็นตัวแทนพื้นที่เขตเมือง สําหรับสถานีอุดมสุขเป็นตัวแทนพื้นที่ชานเมือง การศึกษาด้วยการศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ การลงพื้นที่เพื่อสํารวจลักษณะทางกายภาพของพื้นที่บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าของทั้ง 2 สถานี อันสอดคล้องกับแนวคิด TOD และใช้แบบประเมิน MCA สําหรับให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา จํานวน 12 คน ได้แก่ นักผังเมือง นักธุรกิจพัฒนาที่ดิน นักสังคม นักสิ่งแวดล้อม นักเศรษฐศาสตร์ และนักกฎหมาย ประเมินปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า 10 ปัจจัย; ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่เป็นเขตเมือง (สถานีอโศก) มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยที่ 9 หลักเกณฑ์ตามประกาศของกฎหมายผังเมือง ปัจจัยที่ 2 การเชื่อมต่อกับที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และการเดินทางขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น ๆ ปัจจัยที่ 10 ความสําคัญด้านธุรกิจและการค้าในพื้นที่ และปัจจัยที่ 7 ราคาที่ดิน และราคาที่อยู่อาศัยโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า ตามลําดับ สําหรับปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนาการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่เป็นเขตชานเมือง (สถานีอุดมสุข) มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยที่ 9 หลักเกณฑ์ตามประกาศของกฎหมายผังเมือง ปัจจัยที่ 10 ความสําคัญด้านธุรกิจและการค้าในพื้นที่ ปัจจัยที่ 2 การเชื่อมต่อกับที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และการเดินทางขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น ๆ และปัจจัยที่ 4 ระยะทางในการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้า ตามลําดับ ดั้งนั้น พื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าอโศกจะมีแนวโน้มการพัฒนาที่เป็นไปเพื่อพัฒนาธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นเขตเมือง ที่มีราคาที่ดิน ราคาที่อยู่อาศัยสูง และเป็นแหล่งเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร สําหรับพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าอุดมสุขมีแนวโน้มการพัฒนาที่เป็นไปเพื่อการพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยหลากหลายประเภท และการพัฒนาร้านค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย UR - https://drive.google.com/file/d/13EL77sQBbM6yRgKW0iHETbe9RUyV8lo6/view?usp=sharing ER -